Skip to main content
Font Size

ขั้นตอนการรับบริการ

บริการรับชำระค่ารักษาพยาบาล

บริการรับชำระค่ารักษาพยาบาล  (เงินสด / บัตรเครดิต)  ในเวลาราชการ    (วันจันทร์ ศุกร์)         

โดยให้บริการชำระค่ารักษาพยาบาล ตามจุดต่างๆ ในโรงพยาบาล ดังนี้

 

            อาคารเฉลิมพระเกียรติ                                     เวลาทำการ

                        ชั้น 1    ห้องยา                                                    07:00 - 16:00

                        ชั้น 1    แผนกเวชระเบียนและสถิติ                               08:00 - 15:00

       ชั้น 1    ห้องรับรอง นายทหารสัญญาบัตร                       08:00 - 15:00

                        ชั้น 1    แผนกส่วนเก็บเงินรายรับสถานพยาบาล                08:00 - 16:00

                        ชั้น 2    ห้องเจาะเลือด                                           06:30 - 15:00

                        ชั้น 2    ห้องเอ็กซเรย์                                            08:00 - 15:00

                        ชั้น 3    แผนกโรคหัวใจ                                          08:00 - 13:00

                        ชั้น 5    แผนกทันตกรรม                                         08:00 - 15:00

                        ชั้น 6    ห้องยา แผนก ตา , หู , คอ , จมูก                    08:00 - 15:00

            อาคารมหาวชิราลงกรณ์ (มวก.)

                        ชั้น 1    ห้องยา                                                   08:00 - 16:00

            อาคารพัชรกิตติยาภา

                        ชั้น 1    ห้องยา                                                   08:00 - 16:00

            อาคารสมเด็จย่า 90 (คลินิกผู้สูงอายุ)

                        ชั้น 1    ห้องยา                                                   08:00 - 15:00

            อาคารเวชศาสตร์นิวเคลียร์

                        ชั้น 3    ห้องทำนัดเอ็กซเรย์   (รับชำระเฉพาะวันพุธ)         08 :00 - 12:00

อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู

                               ชั้น 1    บก.กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู                         08:00 - 15:00  

บริการ คัดสำเนาใบเสร็จ เปลี่ยนแปลงแก้ไขใบเสร็จรับเงิน

บริการ คัดสำเนาใบเสร็จ เปลี่ยนแปลงแก้ไขใบเสร็จรับเงิน

            บริการคัดสำเนาใบเสร็จ (กรณีใบเสร็จหาย)

                        เอกสารที่ต้องใช้

1. ใบแจ้งความ (ที่มีรายละเอียดชื่อเจ้าของใบเสร็จ วันที่ออกใบเสร็จ

                 ยอดค่าใช้จ่าย)

                                    2. บัตรประจำตัวผู้ป่วย            (บัตรเล็กโรงพยาบาล)

                        ขั้นตอนการขอคัดสำเนาใบเสร็จรับเงิน

1.           ผู้ป่วยนำใบแจ้งความ และบัตรประจำตัวผู้ป่วย ติดต่อแผนกส่วนเงินรายรับสถานพยาบาล (ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ) (ช่องหมายเลข 7)

2.           เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบ ค้นหาสำเนาใบเสร็จ

3.           เจ้าหน้าที่ นำสำเนาใบเสร็จ ที่ค้นหา มาทำการสำเนา

4.           เจ้าหน้าที่ นำสำเนาใบเสร็จ ให้หัวหน้าแผนกส่วนเงินรายรับ              ลงนาม สำเนาถูกต้อง

นำสำเนาใบเสร็จให้กับผู้ป่วย 

แนวทางปฏิบัติของผู้ใช้สิทธิการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2549

แนวทางปฏิบัติของผู้ใช้สิทธิการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2549 <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office">

1.      ผู้ใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก ต้องเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว ที่มีชื่อในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐของกรมบัญชีกลาง สามารถตรวจสอบข้อมูลผ่านWebsiteกรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th) หากไม่สามารถเข้าไปดูได้ให้เข้าไปที่หัวข้อสวัสดิการรักษาพยาบาลแล้วเลือกรายการตรวจสอบข้อมูลในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ แล้วเลือกหัวข้อวิธีแก้ไขปัญหา Internet Explorer ทำตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้น แล้วให้ทำการปิด Internet Explorer หน้าต่างเดิม แล้วเปิด Internet Explorer ใหม่เพื่อเข้าไปใช้งานต่อไป

2.      ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญและบุคคลในครอบครัว สามารถตรวจสอบว่ามีชื่อในฐานข้อมูลตามข้อ 1. หรือไม่ ผ่านWebsiteกรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th)โดยเข้าไปที่หัวข้อสวัสดิการรักษาพยาบาลและเลือกรายการตรวจสอบสิทธิการรักษาสวัสดิการ

2.1  กรณีที่ตรวจสอบแล้วมีชื่อ : ต้องสมัครลงทะเบียน ณ สถานพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาก่อน

- กรณีผู้ป่วยนอกสามารถใช้ระบบจ่ายตรงได้หลังจากลงทะเบียนแล้ว 15 วัน และ ในช่วง 15 วันนั้น หากต้องเข้ารักษาพยาบาลให้นำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลไปวางเบิกกับต้นสังกัด

2.2   กรณีที่ตรวจสอบแล้วไม่มีชื่อ : ให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว ติดต่อนายทะเบียนของส่วนราชการที่ตนสังกัดอยู่ เพื่อทำการปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐของกรมบัญชีกลาง หลังจากมีชื่อในฐานข้อมูลฯ แล้วจึงจะสามารถสมัครละทะเบียนตามข้อ 2.1 ได้

3.      ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว ที่มีสิทธิซ้ำซ้อน (เช่น มีสิทธิประกันสังคม สิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น) ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลได้

4.      หนังสือรับรองการมีสิทธิสำหรับโครงการผู้ป่วยนอกรักษาต่อเนื่อง (แบบ 7101/1) ไม่สามารถนำมายื่นต่อสถานพยาบาลได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป โดยให้ใช้ระบบจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลแทน

5.      ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลยังคงสามารถนำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลมาวางเบิกกับต้นสังกัด กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอก และขอหนังสือต้นสังกัดกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในได้ตามปกติ

6.      กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน หากตรวจสอบแล้วมีชื่อตามข้อ 2.1 สามารถแจ้งโรงพยาบาลเพื่อให้ขอเลขอนุมัติแทนหนังสือรับรองการมีสิทธิทาง web page ได้

ทั้งนี้  รายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลให้ถือปฏิบัติตามหนังสือ กระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว.84 ลงวันที่ 28 กันยายน 2549 สามารถ download ได้ที่ Websiteกรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th)

 

 

                                                                 

การเข้ารับบริการห้องตรวจโรคเวชศาสตร์ครอบครัว

 

ห้องตรวจโรคเวชศาสตร์ครอบครัวให้บริการ

1.  บุคคลสุขภาพปกติยังไม่เจ็บป่วย

                ­  บริการตรวจสุขภาพทั่วไป

                ­  ตรวจเพื่อคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพตามวัย

                ­  บริการฉีดวัคซีน ได้แก่ วัคซีนไวรัสตับอักเสบ, อีสุกอีใส และไข้หวัดใหญ่

                ­  ใบรับรองแพทย์ทั่วไป, ใบรับรองแพทย์ 7 โรค  เพื่อใช้ในการสมัครสอบ  สมัครเรียนต่อ และสมัครงาน

­  ใบรับรองแพทย์ แบบ ทบ.466  เพื่อใช้ในการสมัครสอบ, เรียนต่อในหน่วยของ ทบ. และ

                     สมัครฌาปนกิจ ทบ.

­  ตรวจสุขภาพเพื่อบรรจุข้าราชการทหาร

­  ตรวจสุขภาพข้าราชการเพื่อไปศึกษาต่างประเทศ  ได้แก่  สหรัฐอเมริกา  ออสเตรเลีย  แคนานา

2.  ผู้มีอาการเจ็บป่วย

­  ไม่รุนแรง  ไม่ใช่กรณีวิกฤตฉุกเฉิน

­  อาการไม่ชี้ชัด  รักษาเบื้องต้นก่อนส่งตรวจเฉพาะทาง

­  ผู้ป่วยใหม่ หรือมาขอรับการรักษาต่อแต่ไม่มีหนังสือส่งตัว

3.  ผู้ป่วยห้องศูนย์รับรองข้าราชการทหาร (นายพล)

การให้บริการ       

ในเวลาราชการ                                  เวลา 07.00 16.00 น.

นอกเวลาราชการ(วันเสาร์)                 เวลา 08.30  12.00 น.

รายละเอียด

­  ผู้ป่วยที่รับตรวจจำนวนวันละ  280  คนต่อวัน

­  สถานที่ตั้ง  :-  อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ชั้น 1 

­  หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกรณีฉุกเฉิน  02 354 7600 26  ต่อ  93104


 

 

ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจรักษา

1.  ทำบัตร ตรวจสอบสิทธิติดต่อเวชระเบียนและสถิติ ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ

­  ห้องตรวจโรคทั่วไป / เวชศาสตร์ครอบครัว   

เคาน์เตอร์หมายเลข 1          ติดต่อพยาบาลคัดกรอง

                                                   ส่งใบแจ้งอาการ / ใบนัด

เคาน์เตอร์หมายเลข 2            จัดลำดับคิวพบแพทย์

   พบแพทย์ห้อง 1 - 16 

   ส่งปรึกษาแผนกอื่นๆ

ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม             ชั้น 2   เจาะเลือด  ตรวจปัสสาวะ  เอ็กซเรย์

                                                   ชั้น 3   ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

­  รับคำแนะนำหลังพบแพทย์

                                   เคาน์เตอร์หมายเลข  3 , 4 , 5 , 6   

                                   ติดต่อรับใบสั่งยาเคาน์เตอร์ หมายเลข 9

                                   รับยาห้องยา หมายเลข 10     กลับบ้าน

การเข้ารับบริการห้องตรวจโรคผู้สูงอายุ

 

การเข้ารับบริการห้องตรวจโรคผู้สูงอายุ

ห้องตรวจโรคผู้สูงอายุ ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยสูงอายุในทุกสาขาของโรค

การให้บริการ       

ในเวลาราชการ                                 วันจันทร์ วันศุกร์             เวลา 08.00 16.00 น. (รับบัตรคิวเวลา 05.00 น.)

สาขาตรวจโรคที่เปิดให้บริการ :       วันจันทร์               อายุรกรรม, เวชปฏิบัติทั่วไป

                                                          วันอังคาร              อายุรกรรม, ศัลยกรรม, เวชปฏิบัติทั่วไป, โรคหัวใจ

                                                          วันพุธ                    อายุรกรรม, ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก,

                ศัลยกรรมกระดูกโรคหัวใจ

                                                         วันพฤหัสบดี          อายุรกรรม, ศัลยกรรมกระดูก, เวชปฏิบัติทั่วไป,

               ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่ทวารหนัก

                                                           วันศุกร์                เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, ศัลยกรรมกระดูก, ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่

              และทวารหนัก, คลินิกความจำ

รายละเอียด

­  รับผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจในห้องตรวจผู้สูงอายุ  ประมาณวันละ  80 - 85  คนต่อวัน

­  สถานที่ตั้ง  :-  อาคารสมเด็จย่า 90 ชั้น 1

­  หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกรณีฉุกเฉิน  02 354 7711   ต่อ  93952 ,  93961

ขั้นตอนการเข้ารับบริการตรวจรักษา

1.  ยื่นบัตรนัด

2.  วัดสัญญาณชีพ, ชั่งน้ำหนัก

3.  เรียกเข้าพบแพทย์

4.  ให้คำแนะนำให้การมารตรวจครั้งต่อไป และการส่งตรวจแผนกอื่น

5.  รับยาที่ห้องยา

6.  กลับบ้าน